ทำอย่างไร? ให้เก็บกล้วยไว้ได้นาน ๆ

ทำอย่างไร ให้เก็บกล้วยไว้ได้นานๆ

การสุกของผลไม้ หมายถึง ระยะที่ผลไม้มีการเจริญเติบโตเต็มที่ มีการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาและปฏิกิริยาทางชีวเคมีหลายอย่าง ได้แก่

  • การเปลี่ยนแปลงสีผิวหรือรงควัตถุต่างๆ เช่น การสูญเสียคลอโรฟิลล์ การเปลี่ยนแปลงกลิ่นรส
  • การเปลี่ยนแปลงของคาร์โบไฮเดรต เช่น การเปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาล ทำให้ผลไม้มีความหวานเพิ่มมากขึ้น
  • การลดลงของกรดอินทรีย์ ทำให้มีความเปรี้ยวลดลง รวมทั้งการเกิดขึ้นของสารหอมระเหยบางชนิด ทำให้มีกลิ่นหอม
  • การเปลี่ยนแปลงเนื้อสัมผัส การลดความแน่นเนื้อ จะทำให้ผลไม้นิ่มลง เช่น กล้วย มะม่วง มะละกอ เกิดจากการสลายตัวของเพกทิน
  • การเปลี่ยนแปลงคุณค่าทางโภชนาการ สูญเสียวิตามิน โดยเฉพาะวิตามิน การเปลี่ยนแปลงต่างๆเหล่านี้ ทำให้ผลไม้สุกตามเวลาที่ควร

การเปลี่ยนแปลงต่างๆเหล่านี้ ทำให้ผลไม้สุกตามเวลาที่ควร วันนี้จึงขอนำเสนอวิธีชะลอความสุกของผลไม้คู่ครัวไทย นั่นก็คือ “กล้วย” นั่นเองค่ะ

1. แช่ฟรีซในตู้เย็น

แช่ฟรีซในตู้เย็น ให้เก็บกล้วยไว้ได้นานๆ

สามารถนำกล้วยที่เพิ่งซื้อมา ในกล่องปิดสนิท หรือห่อด้วยกระดาษ แล้วนำไปแช่ในตู้เย็น เพื่อชะลอการสุกของกล้วย วิธีนี้สามาถเก็บกล้วยไว้ได้นานถึง 2 สัปดาห์ สีของเปลือกกล้วยอาจจะเปลี่ยนเป็นสีดำคล้ำได้ แต่เนื้อกล้วยข้างใน ยังสามารุรับประทานได้ตามปกติค่ะ

2. พันด้วยพลาสติดถนอมอาหาร

พันด้วยพลาสติดถนอมอาหาร ให้เก็บกล้วยไว้ได้นานๆ วิธีรักษากล้วยให้อยู่ได้นาน

ถ้าอยากให้กล้วยที่เราซื้อมาไม่สุกงอมเร็วเกินไป ให้นำพลาสติกถนอมอาหารห่อที่ขั้วหวีของกล้วย และใช้เทปปิดทับบนพลาสติกถนอมอาหารทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะเป็นการป้องกันก๊าซเอทิลีนที่เกิดขึ้นในระหว่างการสุกของกล้วย หรือเพื่อความสะดวกในการกินก็ให้แยกกล้วยออกมาจากหวี แล้วห่อขั้วกล้วยทีละผลไปเลยก็ได้ค่ะ

3. ต้มเพื่อฆ่าเชื้อ

ต้มเพื่อฆ่าเชื้อ ให้เก็บกล้วยไว้ได้นานๆ

อีกวิธีที่จะช่วยชะลอการสุกงอมของกล้วยได้ คือการนำกล้วยทั้งหวีไปแช่ในน้ำอุ่น ที่อุณหภูมิประมาณ 50 องศาเซลเซียส สัก 10 นาที เสร็จแล้วให้เก็บกล้วยไว้ในที่ที่อากาศเย็นไม่เกิน 25 องศาเซลเซียส หรือแช่ตู้เย็นเลยก็ได้ค่ะ การจุ่มน้ำอุ่นจะช่วยยับยั้งการทำงานของเอนโซม์เมตาบอลิซึมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับก๊าซเอทิลีน ซึ่งเป็นก๊าซที่เกี่ยวกับกระบวนการสุกของกล้วย